วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557


ชูก้า ไกลเดอร์





ประวัติ


ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน คือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน(pouch) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ ไกลเดอร์ มีถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย  พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้  เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว


ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว มีขนที่นิ่มละเอียด  แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และมีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบินหรือร่อน


สำหรับนิสัยของ ชูการ์ ไกลเดอร์ มันเป็นสัตว์ที่ต้องการสนใจและเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับมันบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก



วิธีเช็ดตัวทำความสะอาดให้ชูการ์ไกรเดอร์

ทำความสะอาดชูการ์ไกรเดอร์เราควรเตรียมอุปกรณ์ดังนี้

1. ผ้าผืนใหญ่ และผืนเล็ก อย่างละ 1 ผืน(เอาไว้ชุบน้ำ) ผ้าแห้ง 1 ผืน

2. สำลีแผ่น

3. เพ็ทมี หรือ นาโนมูส

4. กระดาษทิชชู่



ขั้นตอนการเช็ดตัวชูการ์ไกรเดอร์

เอาผ้าผืนใหญ่ชุบน้ำอุ่นบิดให้แห้ง เอามาห่อตัวชูการ์ไกรเดอร์ไว้

เอาผ้าผืนเล็กชุบน้ำ(ควรใช้น้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อป้องกันชูการ์ไกรเดอร์เป็นหวัด)บิดหมาด เช็ดตัวให้ชูการ์ไกรเดอร์ โดยที่ชูการ์ไกรเดอร์ยังอยู่ในผ้าผืนใหญ่ พยายามเช็ดให้ทั่วบริเวณหัว หลัง และหางของชูการ์ไกรเดอร์

ช่วงท้อง ให้ใช้ผ้าผืนใหญ่ที่ห่อตัวชูการ์ไกรเดอร์เช็ด จากนั้นเอาผ้าแห้งเช็ดตาม เช็ดโดยการทวนขนของชูการ์ไกรเดอร์ เพื่อที่ขนจะได้แห้งโดยเร็ว

ถ้าต้องการให้ชูการ์ไกรเดอร์มีขนหอม เอาเพ็ทมีฉีดลงบนสำลีแผ่น และเช็ดให้ชูการ์ไกรเดอร์ โดยการทวนขนชูการ์ไกรเดอร์ จากนั้นเช็ดตามด้วยผ้าแห้งหรือกระดาษทิชชู่

ถ้าใช้นาโนมูส ให้บีบนาโนมมูสใส่มือ เอาอีกมือขยี้ให้ทั่วฝ่ามือ และเอาฝ่ามือทั้งสองนี้ลูบตามขนของชูการ์ไกรเดอร์ จากนั้นเช็ดตามด้วยผ้าแห้งหรือกระดาษทิชชู่โดยการทวนขนของชูการ์ไกรเดอร์

กรณีที่ตัวหรือขนชูการ์ไกลเดอร์สกปรกมาก

ให้เอาสำลีแผ่นชุบน้ำอุณหภูมิปก และค่อยๆเช็ดบริเวณที่สกปรก หากสำลีที่ชุบน้ำเป็นสีเหลือง ให้เอาสำลีแผ่นใหม่มาชุบน้ำเช็ดตัวให้ชูการ์ไกลเดอร์จนกว่าจะไม่มีคราบสกปรกติดอยู่บนสำลีที่ชุบน้ำ



การดูเพศชูการ์ไกรเดอร์

ตัวเมีย จะมีกระเป๋าที่หน้าท้อง ตอนที่อายุน้อยจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเพราะขนยังขึ้นไม่เต็มที่ และเมื่ออายุโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้ยากเพราะขนจะขึ้นปรกคลุมบริเวณนั้น ตัวผู้    จะมีลูกอัณฑะอยู่บริเวณหน้าที่ (ตำแหน่งเดียวกับกระเ๋ป๋าหน้าท้องของตัวเมีย) และลงมาจะเป็นอวัยวะเพศจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้น จะหดอยู่อยู่ในบริเวณทวารหนัก เมื่อโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตัวผู้มักจะเอาออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ


เรื่องการสืบพันธุ์ของชูการ์

ในช่วง ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือน พฤศจิกายน จะเข้าสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ชูการ์จะใช้ระยะเวลาในการทั้งท้อง ประมาณ 16 วัน ถึง 21 วัน เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วลูกจะคลานเข้าสู่กระเป๋าหน้าท้องของแม่

- ตัวผู้พร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 10เดือน

- ตัวเมียพร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 8เดือน หรือ 1ปี



วิธีง่ายๆในการดูชูการ์ไกรเดอร์ท้อง
           ฝื่นใจน้อง ปลิกระเป๋าส่วนหน้าท้อง ถ้ามีตุ่มๆ แสดงว่าน้องกำลังตั้งท้อง  แต่ถ้าปลิออกมาแล้วเป็นปกติ(แห้งๆไม่มีตุ่ม)แสดงว่าไม่ได้ ท้อง  หรือ ถ้าปลิแล้ว เจอแดงๆ อย่าตกใจนะค่ะนั้นคือเด็กๆค่ะ



ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับชูการ์

ผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ฝรั่ง มะม่วงสุก องุ่นแดง แคนตาลูป แตงโม ชมพู่ อโวกาโด เงาะ ข้าวโพดต้มสุกลำใย ขนุน ทุเรียน ผลไม้เหล่านี้ให้ทานได้เป็นกระสัย อย่าให้ทานมากไป นอกจากเค้าจะทานเนื้อผลไม้แล้วเรายังสามารถให้ทานน้ำ ผลไม้ได้ด้วย ไม่ว่าจะโดยการคั้นหรือปั่นเองและเป็นแบบกล่อง (ต้อง 100% เท่านั้น) เช่น น้ำผลไม้แท้ 100% ยี่ห้อต่าง ๆ

อาหารของ ชูการ์ไกรเดอร์ นั้น ตามธรรมชาตินั้น จะหากินกลางคืนและจะกิน ยางไม้ แมลง และเกสรดอกไม้ต่าง ๆ ได้แยกการกินออกเป็นช่วงอายุดังนี้

อายุตั้งแต่ แรกเกิด 4 เดือน อาหารสำหรับชูก้าเด็กนั้นคือ ซีลีแลค เพียงอย่างเดียว เพราะกะเพา่ะชูก้าเด็กยังปรับตัวได้ไม่ดีจึงไม่แนะนำ ให้ทานอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้

อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปอาหารสำหรับชูก้าโต จำแนกดังนี้

- ซีลีแีลค Carnivorous Care

- ผลไม้ ที่มีรสหวาน เช่น ชมพู่ แตงโม องุ่น ขนุน เงาะ ลำใย ฝรั่ง เป็นต้น

- หนอน แมลง อื่น ๆ เช่น หนอน waxworm ตัวอ่อนผึ้ง จิ้งหรีด เป็นต้น

- เสริม เช่น ยางไม้ เกสรผึ้ง เป็นต้น



สำหรับนิสัย

ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์ที่ต้องการความสนใจ และ เอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับเขาบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก



อาหาร และ การเลี้ยงดู

สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่อง หรือ กรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย

แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร

นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว

ในเรื่องอาหารการกิน ชูก้า ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท

คือ กินได้ทั้งพืช และ สัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก แตงโม ฯลฯ ทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อ เพิ่มโปรตีน

ส่วนปริมาณอาหารในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินซีลีแลค หรือ นม วันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลด เหลือวันละ 2-3 ครั้ง 

อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง  ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย และแม้ว่า ชูการ์ ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไรเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัวหรือ อาบน้ำ ฟอกสบู่ได้เลยแต่ต้องเร็วๆ จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดชื้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ ไกลเดอร์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร

ยิ่งหาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึก เพราะอาจโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน้อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุด หรือใช้ผ้าจับตัวน้องไว้ แล้ว ดึงขาออกมาทีละข้าง และ ค่อยตัด


โรคทั่วไปของชูการ์ไกรเดอร์

โรคอ้วนกับชูการ์

ชูการ์ไกรเดอร์ที่อ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน โดยทั่วไปแล้วจะเกียจคร้าน และมีขนาดลำตัวที่กลมมาก

การรักษา ให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่(กรงใหญ่, เต้นท์มุ้ง) กับของเล่นเยอะๆ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ทำกิจกรรมในการสำรวจ และมีวงล้อให้วิ่ง

ชูการ์ที่ไม่ได้รับการออกกำลังกายที่เพียงพอ

สามารถที่จะอ้วนได้ ถ้าหากว่าชูการ์เริ่มท้วมหรืออ้วน หรือแสดงสัญญาณการเคลื่อนไหวในกรงลำบาก ชูการ์ตัวนั้นอาจจะกำลังเข้าสู่ความอ้วน สาเหตุนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ตับ และไตได้ ในป่าชูการ์จะมีกิจกรรมมาก ทั้งการวิ่ง การกระโดด หรือการออกหาอาหาร เนื่องจากชูการ์ที่ถูกนำมาเลี้ยงไม่มีป่าให้เป็นพื้นที่เล่น และชูการ์ไม่จำเป็นต้องออกหาอาหาร กรงของชูการ์จึงควรใหญ่เพียงพอ เพื่อที่ชูการ์จะได้สามารถทำกิจกรรมได้ ตกแต่งกรงด้วยของเล่น เพื่อดึงดูดให้ชูการ์มีความสนใจทำกิจกรรม และติดวงล้อให้วิ่งการให้อาหารชูการ์มากเกินไป หรือให้อาหารที่มีไขมัน และโปรตีนมากเกินไป สามารถนำไปสู่สาเหตุโรคอ้วนได้

โรคกระดูกกับชูการ์

การขาดแคลเซียมของชูการ์อาการสั่นเทา-ตัวสั่น ตัวสั่นหลังจากตื่นนอน เป็นเรื่องปกติของชูการ์ไกรเดอร์ แต่ถ้าหากยังคงตัวสั่นหลังจากนั้นอีก โดยเฉพาะขาหลัง และแขน/ขาของชูการ์ไกรเดอร์อ่อนแรงนั่นอาจจะหมายถึงปัญหาการขาดแคลเซียม

ภาวะขาดแคลนแคลเซียมในชูการ์สามารถนำไปสู่กระบวนการของโรคกระดูก หรือที่รู้จักกันคือ ภาวะกระดูกเสื่อม โรคนี้เป็นสาเหตุให้ขาหลังของชูการ์เคลื่อนไหวไม่ได้ชั่วคราว หรือกลายเป็นอัมพาตถาวร

ภาวะกระดูกเสื่อมนี้คือผลจากการขาดแคลเซียมด้วยเช่นเดียวกัน โรคนี้สามารถทำให้กระดูกของชูการ์อ่อนแอและแตกหักง่าย

การรักษา เสริมแคลเซียม ถ้าหากชูการ์ไกรเดอร์เพิ่งแสดงอาการในระยะเริ่มต้น เปลี่ยนอาหาร ทางที่ดีควรพาไปหาหมอเฉพาะทาง เพื่อรับคำปรึกษาและการรักษา

ชูการ์ขนร่วงตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ขนร่วง ถ้าหากว่าขนร่วงตรงกลางหัวของชูการ์ไกรเดอร์เพศผู้ นั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าชูการ์ไกรเดอร์เพศผู้จะมีต่อมกลิ่นตรงหัว แต่ถ้าหากขนร่วงจากส่วนอื่นของร่างกาย หรือขนบาง นั่นอาจจะหมายถึง มีปรสิต หรือการอักเสบจากเชื้อรา หรือสภาวะขาดสารอาหาร

การรักษา ไปหาหมอเฉพาะทาง สูญเสียความอยากอาหาร ความไม่อยากอาหาร หรือการกินอาหารเพียงเล็กน้อย นั่นอาจจะหมายถึง 2 - 3 อย่าง

ความเครียดกับชูการ์

อาจจะทำให้ไม่มีความอยากอาหาร และสิ่งนี้โดยปกติแล้วจะพบได้ในชูการ์ไกรเดอร์ที่ย้ายบ้านใหม่ สิ่งอื่นนั้นอาจจะเป็นการมีปรสิตอยู่ภายในร่างกาย เช่น พยาธิ หรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง สิ่งอื่นนั้นอาจจะเป็น ปัญหา ฟันและกราม ให้ตรวจดูฟันว่า ฟันของชูการ์ไกรเดอร์แตกหักได้รับความเสียหายไหม และตรวจดูให้แน่นอนใจว่า เหงือกไม่มีอาการบวม

การรักษา ถ้าหากว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมใหม่ นั่นเป็นเรื่องปกติ ถ้าหากว่ากินอาหารน้อย ให้พาไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ถ้าหากเป็นปัญหาเรื่องฟัน ให้ไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ท้องร่วง ถ้าหากอึเป็นครีมคล้ายยาสีฟัน นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากอึเหลวไม่เป็นรูปทรง และอึเป็นน้ำ นั่นคืออาการท้องร่วง ซึ่งสามารถเกิดชึ้นได้จากอาหารใหม่ ติดเชื้อจากอาหารใหม่ หรืออาหารที่เน่าเสีย หรือปรสิต การรักษา ป้อนกลูโคลส(เกลือแร่) เจือจางกับน้ำ และให้อาหารที่เพิ่มกากใย กรณีที่เป็นมาก และหมอเฉพาะทางปิด ป้อนเกลือแร่โดยไม่เจือจางกับน้ำทุก 1 ชั่วโมง สลับกับอาหารชง งดผสมนมทดแทนลงในอาหารชง ป้อนไดเซ็นโต 1 หยด ทุก 4-6 ชั่วโมง หากชูการ์ไกรเดอร์ยังเด็ก ทำตามการรักษาด้านบน และพาไปหาหมอเฉพาะทางในวันรุ่งขึ้น สภาวะสูญเสียน้ำ

โรคเครียดกับชูการ์ไกรเดอร์ กรณี ที่ เลี้ยงชูการ์เพียงตัวเดียว

ชูการ์ที่ถูกเลี้ยงตัวเดียว โดยเฉพาะชูการ์เพศผู้ที่ไม่ได้รับการทำหมัน สามารถที่จะเป็นโรคเครียดได้ ชูการ์เพศผู้จะเริ่มกัด/แทะตัวเอง กินอาหารมากเกินไป เดินไปรอบๆกรง และกินของเสียของตัวเอง การรักษาโรคนี้คือ การหาคู่ให้ชูการ์

ชูการ์กับสภาวะสูญเสียน้ำ

อาการของชูการ์ไกรเดอร์ที่มีสภาวะสูญเสียน้ำคือ ดวงตาจะมองดูขุ่นมัว(ตาไม่ใส) ผิวหนังเหี่ยว การตรวจดูว่าชูการ์ไกรเดอร์อยู่ในสภาะขาดน้ำหรือไม่ ให้หยิก(เอานิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับตรงผิวและดึงขึ้น)ตรงบริเวณผิวหนังหลังลำคอ ถ้าผิวหนังนั้นหดตัวกลับลงไปทันที ชูการ์ไกรเดอร์ไม่อยู่ในสภาวะสูญเสียน้ำ แต่ถ้าหากผิวหนังนั้นไม่หดกลับลงไปในทันที แสดงว่าชูการ์ไกรเดอร์นั้นอยู่ในสภาวะสูญเสียน้ำ



การรักษา ป้อนกลูโคลส(เกลือแร่)เจือจางกับน้ำ ป้อนอาหารเหลว(อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำ) ชูการ์ท้องผูก

ชูการ์ไกรเดอร์ที่มีอาการท้องผูก ถ้าชูการ์ไกรเดอร์ไม่กินผลไม้และน้ำให้เพียงพอ สัญญาณที่บอกว่าชูการ์ไกรเดอร์มีอาการท้องผูกคือ จะส่งเสียงในขณะถ่าย

การรักษา ป้อนน้ำแอปเปิ้ล 100 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำแอปเปิ้ลคั้นสด 1 ช้อนชา 2 ครั้งต่อวัน จะสามารถช่วยให้อาการท้องผูกหายได้

ชูการ์กับระบบขับปัสสาวะอักเสบ

ระบบขับปัสสาวะอักเสบ ชูการ์ไกรเดอร์จะมีอาการปัสสาวะลำบาก ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการทำงานของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ระบบปัสสาวะถูกปิดกั้น และโรคไต ปัญหานี้อาจจะปกติมากสำหรับชูการ์ไกรเดอร์ที่ได้รับปริมาณโปรตีนและ ปริมาณแร่ธาตุในอาหารสูง เช่นกินอาหารแมวเป็นจำนวนมาก สัญญาณของอาการอาจจะรวมไปถึงการมีเลือดออกในปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะเป็นหยดๆมีอาการซึม ความอยากอาหารลดลง มีความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น อวัยวะเพศยื่นออกมา หรือสีของอวัยวะเพศเปลี่ยน และสูญเสียน้ำหนักการรักษา ต้องพาไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อรับยาแก้อักเสบ

ส่งเสียงร้องในขณะปัสสาวะ เสียงนี้เป็นสัญญาณก่อนที่จะมีการถ่ายลำบากของชูการ์ไกรเดอร์

การรักษา ป้อนน้ำแครนเบอร์รี่ 100 เปอร์เซ็นต์ 1 ช้อนชา 2 ครั้งต่อวันให้ชูการ์ไกรเดอร์

ดวงตาชูการ์ขุ่นมัว

ดวงตาขุ่นมัว เป็นที่รู้กันดีว่า การสูญเสียการมองเห็นเป็นบางส่วนของชูการ์ไกรเดอร์นั้น โดยปกติแล้วจะมีสาเหตุมาจากอาหารที่มีไขมันสูง ชูการ์ไกรเดอร์ที่กิน หนอน หรืออาหารอื่นที่มีไขมันสูงนั้น จะทำให้เกิดไขมันที่ดวงตาซึ่งอาจจะส่งผลให้ดวงตาของชูการ์ไกรเดอร์บอด

การรักษา เปลี่ยนแปลงอาหาร งดอาหารที่ให้ไขมันสูง ดวงตาอักเสบ ชูการ์ไกรเดอร์ที่มีอาการดวงตาอักเสบนั้น ดวงตาจะดูแฉะที่บริเวณเปลือกตาไล่มาเรื่อยจนรอบบริเวณดวงตา ดวงตาจะเปิดได้น้อย และชูการ์ไกรเดอร์จะมีความต้องการนอนมาก บางครั้งดวงตาเกิดการอักเสบ จะทำให้ขนรอบบริเวณดวงตาน้อยลง เนื่องจากชูการ์ไกรเดอร์จะเอามือเกา

การรักษา เอาน้ำยาล้างตาเทลงบนสำลีแผ่นวางบนบริเวณดวงตา พยายามเช็ดดวงตาโดยไม่ถู/ขยี้ดวงตา และพาไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อรับยาแก้อักเสบ

ชูการ์เป็นหวัดหรือ เป็นไข้

หวัด หรือ ไข้ถ้าเกิดขึ้นกับชูการ์ จมูกของชูการ์ไกรเดอร์จะเปียกมาก และจะจามบ่อย การที่ชูการ์ไกรเดอร์มีจมูกชื้น นั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าจมูกเปียกมา และจามจะเป็นอาการหวัด

การรักษา การเป็นหวัดนี้สาเหตุมาจาก ชูการ์ไกร์เดอร์ได้รับไวรัส หรือได้รับความเย็นจากการอยู่ในห้องแอร์ หรือตัวเปียก และไม่ได้ถูกทำให้ตัวแห้งโดยทั่วถึง เสริมวิตามินซีจาก ส้ม หรือ กีวี่ ให้ชูการ์ไกรเดอร์ และพาไปหาหมอเฉพาะทาง

ชูการ์ขาหลังอัมพาต - ชูการ์ขาหลังอ่อนแรง
             ขาหลังอัมพาต ขาหลังอ่อนแรง สามารถมองเห็นได้ในชณะที่ชูการ์ไกรเดอร์ปีน เดิน มีอาการขาสั่นอย่างมาก และอาจจะไม่มีความกระฉับกระเฉงอีกต่อไป

การรักษา สาเหตุนี้มาจากการให้อาหารที่ไม่ดี ที่มีแคลเซียมน้อยแก่ชูการ์ไกรเดอร์ ให้พาไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อทำการรักษา เปลี่ยนแปลงอาหาร และเสริมแคลเซียม

ภาวะทุพโภชนาการ(ภาวะขาดสารอาหาร)ของชูการ์

-เมื่อชูการ์กินอาหารที่มีวิตามิน และแร่ธาตุที่ชูการ์ต้องการไม่เพียงพอ ชูการ์จะเริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของภาวะขาดสารอาหาร อาการของภาวะขาดสารอาหารอาจจะรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น มีลักษณะเหนื่อยล้า นอนและเกียจคร้านมากเกินปกติ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถรวมไปถึง การสูญเสียน้ำหนัก เยื่อบุผิวจมูกซีด และปรากฏรอยฟกช้ำ

ภาวะขาดสารอาหารที่รุนแรงมากสามารถเป็นสาเหตุ และร้ายที่สุดทำให้ชูการ์นั้นกระดูกอ่อนแอ หลักฐานคือ กระดูกร้าว และแตก

-ถ้าหากชูการ์ที่มีภาวะขาดสารอาหารได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ชูการ์มีโอกาสหายจากโรคนี้ได้ หมอเฉพาะทางจะสามารถบอกได้ว่า อาหารอะไรที่น้อยเกินไป หรืออาหารอะไรที่มากเกินไปสำหรับชูการ์ และทำการรักษาชูการ์ได้ถูกต้อง

 โรคฟันของชูการ์

-ชูการ์ก็เหมือนกับคน ที่ฟันสามารถเกิดความเสียหายได้ ฟันชูการ์อาจจะผุ แตกหัก หรือหลุด ถ้าหากผู้เลี้ยงยอมตามใจให้ชูการ์กินของหวานมาก สิ่งอื่นที่สามารถเป็นปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันได้คือ ชูการ์กินอาหารที่อ่อนหรือนิ่มมากเกินไป สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การสะสมของหินปูนได้

สัญญาณเด่นๆที่ชูการ์มีความเจ็บปวดจากปัญหาโรคฟันคือ สูญเสียความอยากอาหาร อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆได้ ให้พาชูการ์ไปหาหมอเมื่อเวลาที่ผู้เลี้ยงสังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงของชูการ์












 







 
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น