วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557



นกแก้ว


ประวัติ
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacus torquata) แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จงอย ปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้วและข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็นพิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วย ปาก ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถ นำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด
สำหรับรังและที่อยู่อาศัยของนกแก้วโดยทั่วไปมักอยู่ตามในโพรงไม้ หรือโพรงหิน ไม่นิยมใช้วัสดุต่าง ๆ ทำรัง นกจากนกแก้ว เควเคอร์(Quaker Parrakeet) และ นกแก้ว อัฟเบริด์ (Lovebirds) นกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมทำรังโดยใช้แขนงหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ เศษ หญ้า เปลือกไม้โดยนำมาสานประกอบขึ้นเป็นรังเป็นนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากแดง อยู่รวมกันเป็นฝูง กิน
เมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P. roseata) นกมาคอว์ อาหารที่ชอบกินคือผลไม้ โดยนกแก้วมีหลายชนิดและมีสีสดใส ส่วนมากเราจะเห็นนกแก้วมีสีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า
นกที่คนไทยชอบเลี้ยงมาแต่โบรานมีนกแก้วรวมอยู่ด้วย เพราะนกแก้วสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่ามันมีความจำดี เรียนรู้ได้เร็ว ถ้าพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆก็สามารถพูดได้ กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับไปบุกอินเดียได้ทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็ชอบพระทัยได้ทรงนำกลับยุโรปด้วย และในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก จึงได้มีการค้าขายนกแก้วทั้งในยุโรปและเอเชีย การที่คนเราชอบเลี้ยงนกแก้วนั้นเห็นจะเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ
1นกแก้วมีสีสวย รูปร่างงดงาม
2.สามารถพูดเลียนภาษามนุษย์ได้
3.เลี้ยงง่าย
4.อายุยืน อย่างในเรื่อง Popular Pet Birds ของ R.P.N. Sinha กล่าวว่า นกแก้วมีอายุยืนมาก อาจอยู่ได้ถึง 70 ปี
ชนิดและสายพันธ์นกแก้ว
ครอบครัวแพร์รัทส์ (Parrot)
               พันธุ์คอคคาทู (Cockatoos)
                พันธุ์มาคอว์ (Macaws)
พันธุ์เลิฟเบิรด์ (Lovebird)
พันธุ์พาร์ราคีท (Parrakeets)
วิธีการเลี้ยงนกแก้วมีดังนี้
1.เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควร ใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออก คือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
2.เลี้ยงด้วยกรงภายใน ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตุได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
            3.เลี้ยงด้วยกรงภายนอก การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป
อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
1. เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
2. ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
3. อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
4. กระดองปลาหมึก, ทราย
5. ไข่, และขนมปังทุกชนิด ซึ่งทำชึ้นจากข้าวชนิดต่างๆ
โรคซิททาโคซิส (Psittacosis)หรือ ที่เรียกว่า โรคนกแก้วโรคนี้จะเริ่มแสดงกับนกให้เห็นชัดเจนคือ มีการเบื่ออาหาร ซึม ขนฟู ลูกตาไม่แจ่มใส ต่อมาจะมีอาการหวัด น้ำมูกไหล และท้องร่วง หากเป็นร้ายแรงสัตว์จะตายใน 3 – 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ นอกจากนี้แล้วโรคนี้จะติดต่อถึงคนด้วย
การป้องกันรักษา ที่ได้ผลแน่นอนในเวลานี้นิยมใช้ Antibiotic เช่น ออริโอมัย-เทอร์มัยซิน หรือซัลฟา เมทราลิน วิธีการรักษาควรรักษาเป็นขั้น ๆ โดยเริ่มจากการแก้ท้องเสีย แล้วให้ยาเจริญอาหาร จากนั้นจึงมาใช้ Antibiotic ในบางกรณีเราต้องให้พวก Antibiotic ก่อน แล้วจึงแก้เรื่องท้องเสียก็ได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้ปัจจุบันสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง มีการตรวจกักกันโรคนกที่นำเข้า จะมีก็เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
โรคเชื้อรา (Asperggillosis)โรค ชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิด Asperggillus อันเป็นเชื้อราหรือ Fungi เล็ก ๆ จากสารวัตถุผุพังชนิดอื่น ๆ ลักษณะของเชื้อโรคนี้คล้ายเห็ดรา ปรากฏเป็นหย่อมอยู่ในหลอดลม นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเชื่อง หงอย กินอาหารไม่ค่อยได้ มีขนพอง ระบบการหายขัด มีเสียงครืดคราดในลำคอคล้ายอาการของโรคหืด หรือโรคหลอดลมอักเสบ นับเป็นโรคที่แพร่หลายติดต่อกันได้รวดเร็วทางน้ำ และร้ายแรงมาก อาจทำให้นกตายได้
การป้องกันรักษา ถ้านกเป็นในระยะเริ่มต้น หรือยังไม่พบเชื้อราอาจใช้วิธีบำบัดง่าย ๆ โดยหยดกลีเซอรีน(Glycerrin) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน(Tincture of Iodine) เล็กน้อยลงในน้ำดื่ม ( 2 – 3 หยด หรือ 5 – 6 หยด แล้วแต่ปริมาณของน้ำ) ทุกวันจนอาการนั้นหาย และโรครานี้มักจะเกิดจากเมล็ดข้าว อาหารที่หมักหมมสกปรก จึงควรระมัดระวังในคุณภาพและความสะอาดของข้าวนั้น ๆ ตามสมควร จะช่วยป้องกันโรคได้ระดับหนึ่ง
โรคอหิวาต์ (Fowl Cholera)โรค อหิวาต์นี้ไม่ใช่เฉพาะจะเป็นกับเป็ดไก่เท่านั้น นกก็เป็นโรคนี้กันมากเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อพลาสเจอเรลล่า เอวิซิดา(Pasteurella avicida) เชื้อนี้มีอยู่ในอุจจาระของนกป่วย และระบาดติดต่อกันไปได้หลายทาง เช่น แมลงวัน เป็นตัวนำติดไปกับอาหาร น้ำ ติดไปกับภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงดูนก ติดไปกับมือของผู้เลี้ยง เมื่อ เชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายของนก แล้ว จะแสดงอาการให้เห็นได้ภายใน 1 – 3 วัน โดยน้ำพิษ (Toxin) จากตัวเชื้อจุลินทรีย์จะเจริญตัวอยู่ในโลหิตของนกป่วย จะถูกนำไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยกระแสโลหิต ทำให้โลหิตภายในเกิดเป็นพิษ ถ้าเป็นอย่างชนิดร้ายแรงนกจะตายทันทีโดยไม่สังเกตเห็นอาการ ส่วน ในรายที่เป็นอย่างเรื้อรัง ระยะการเป็นโรคจะยาวกว่า อาการเด่นชัด ที่สังเกตเห็นได้จากนกป่วยที่เป็นโรคนี้ก็คือ อาการท้องเดิน อุจจาระเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเขียว มีอุจจาระติดก้น ในปากและลำคอมีน้ำลายเหนียว หายใจหอบ ยืนหงอยซึม อุณหภูมิของร่างกายสูงมาก และตายในที่สุด
การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน และต้องทำไปพร้อม ๆ กับการทำความสะอาดกรงนกและแยกนกป่วยออก สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ควรปรึกษาสัตว์แพทย์
โรคฝีดาษ
โรค นี้เกิดขึ้น เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคมา คือถูกยุงกัด ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในขั้นแรกจะเป็นตุ่ม มักพบบริเวณตา จมูก และ ปาก ขา หรือบริเวณที่มีขนคลุมบาง ๆ ต่อมาตุ่มนั้นจะใหญ่ขึ้นเป็นไตแข็งและแตกออกในที่สุด
การป้องกัน รักษา เมื่อระยะเริ่มแรกของโรค นกจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ต่อมาจะมีตุ่มแถวเกิดขึ้นบริเวณหน้าและตา ฯลฯ ในกรณีที่ไม่ร้ายแรงนกที่เป็นโรคนี้อาจหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ส่วนในรายที่เป็นอย่างร้ายแรงมีตุ่มเกิดขึ้นในลำคอ นกนั้นจะแสดงอาการคอโก่ง เวลาที่พยายามกินน้ำหรืออาหาร จึงต้องเปิดปากออกดูว่าเป็นอาการของโรคฝีดาษหรือไม่ หรือว่าเกิดจากอะไรติดคอ จะได้รักษาได้ทันท่วงที
การักษาปัจจุบันเราใช้วิธีง่าย ๆ คือ
1. ชนิดที่เป็นในปาก ใช้ปากคีบถอนเอาตุ่มนั้นออก แล้วใช้ออริโอมัยซินชนิดครีมป้ายที่แผล หรือจะใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มแผลก็ได้
2. ชนิดที่ขึ้นบริเวณตา หน้า ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มหรือจะใช้ฟินนิซิลลินครีม ป้ายก็ได้เช่นกัน และมียาอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้ได้ผลดี แต่มีสีเปรอะเปื้อนเล็กน้อยคือยาสีม่วง การทาควรทาวันละ 2 หน เช้าและเย็น ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ และ เมื่อปรากฏโรคนี้เกิดขึ้นก็จะติดต่อกันได้ง่าย จึงต้องรีบแยกออกจากคู่ทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคควรปรึกษาสัตว์แพทย์
โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) โรค หลอดลมอักเสบหรือโรคหืด หมายถึงการอักเสบของหลอดลม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศโดยรวดเร็ว กรงเลี้ยงชื้นแฉะสกปรก อากาศมีความชื้นมาก นกสูดเอาฝุ่นละอองเข้าไปมาก และยังเกิดขึ้นจากโรตติดต่อและโรคธรรมดาบางโรคด้วย เช่น โรคแอสเปอร์กิลโลซีส โรคหวัด ฯลฯ  ใน ระยะเริ่มแรกที่นกเริ่มเป็นโรคนี้นกจะยังคง กินอาหารได้ตามปกติ ไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรให้เห็น เมื่ออาการของโรคทวีขึ้นนกจะเริ่มแสดงอาการซึมเหงา เบื่ออาหาร หายใจลำบาก และมีเสียงดังขณะหายใจและจามเสมอ ๆ บางตัวอ้าปากค้างมีอาการหอบ หางกระตุก มีอาการติดต่อกันเป็นพัก ๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนโรคปอดบวม
การป้องกัน รักษา รีบแยกนกนั้นออกให้ห่างจากนกอื่น ๆ โดยนำมารักษาในกรงพยาบาล ซึ่งมีอากาศอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา ใช้ยากลีเซอรีนหรือทิงเจอร์ไอโอดีนหยดลงในน้ำดื่มประมาณ 2 – 3 หยด (แล้วแต่ปริมาณน้ำ) จนกว่าอาการดังกล่าวจะหายเป็นปกติ หรือจะใช้วิธีรมหัวนกป่วยด้วยไอน้ำอุ่น ซึ่งได้หยดน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ในตอนเช้าหรือตอนกลางคืน และใช้น้ำมันแคมฟอเรเตทออยส์(Camphorrated oil) ทาบริเวณคอเพื่อช่วยให้เกิดความอบอุ่นและหายใจสะดวกขึ้น สำหรับ น้ำที่ให้นกกินก็ควรผสมยาเอวิไมซิน (Avimycin)หรือ ออริโอมัยซิน ลงไปด้วย เพื่อให้นกได้กินยาจะช่วยให้อาการของนกคืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้น สำหรับนกที่มีอาการหายใจหอบและเสียงครืดในลำคอ หากอาการน่าวิตกควรผสมยาในอัตราส่วนโดยประมาณ ดังนี้
- กรดแอมโมเนียอย่างแรง 3 หยด
- ทิงเจอร์ซึ่งสกัดได้จากซีควิล” 3 หยด
- กรดดินประสิวอย่างหวาน 3 หยด ผสมลงในน้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใช้หยอดลงในลำคอครั้งละ 5 หยด จนกว่าอาการจะดีขึ้น
โรคหวัดและหนาวสั่นโรคหวัดของนกนั้นมีอาการเหมือนโรคหวัดของคนคือ มีอาการจามและมีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูก หรือมีเสมหะเหนียวออกจากปากเมื่อไอหรือจาม
การป้องกันรักษา รีบแยกนกป่วยออกไปไว้ในกรงพยาบาล อุณหภูมิของกรงพยาบาลควรให้มีความอบอุ่นสูงประมาณ 75 – 90 องศาฟาเรนไฮด์(ใช้แสงไฟฟ้า 100 แรงเทียน อยู่ใต้พื้นกรงแหละใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น เทอร์รามัยซิน ผสมลงในน้ำดื่มเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้อาการใข้หายได้
โรคปอดอักเสบโรค นี้เป็นที่มีมาคู่กับการเลี้ยงสัตว์ปีกแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว สาเหตุของโรคนี้เกิดจากสถานที่เลี้ยงได้รับลมโกรกมากเกินไป หรืออากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวจนเกิดอาการเป็นหวัด เป็นหืด แล้วตามด้วยโรคปอดอักเสบ ที่มีอาการซึมไม่ร่าเริง ขนฟู จาม สำลัก หายใจฟืดฟาด หากไม่ได้รับการรักษาอาการโรคหวัดให้หายขาด
การป้องกันรักษา ให้รีบแยกนกป่วยออกมาขังไว้ในกรงพยาบาล เอาผ้าคลุมกรงไว้เว้นช่องระบายอากาศไว้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกได้รับความอบอุ่น ถ้าอุณภูมิภายในกรงยังอบอุ่นไม่พอก็ให้ใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 5 – 10 แรงเทียน เปิดเป็นช่วง ๆ หากนกยังพอกินน้ำได้ การรักษาก็ใช้ยาปฏิชีวนะที่ใข้รักษานกทั่วไปที่มีขายตามร้านขายยาสัตว์ หรือไม่ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์
โรคเก้าหรือข้อบวม(gout)โรค นี้เกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เชน นกเป็นโรคเกี่ยวกับไต นกกินอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป หรือกินอาหารทีมีไขมันมากๆ นกกินอาหารไม่ถูกส่วน ขาดไวตามินและขาดการออกกำลังกาย โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นกับนกที่มีอายุมากกว่านกทีมีอายุน้อย นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะแสดงอาการข้อขาและข้อเท้าค่อย ๆ บวมขึ้น นกรู้สึกเจ็บปวด สุขภาพเลวลง และอาจมีอาการท้องร่วงเรื้อรังเล็กน้อยด้วย ถ้านกตายแล้วทำการผ่าซากดูไตจะบวมกว่าธรรมดาเล็กน้อย
การป้องกันรักษา ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนอ่อน ๆ ทาตามข้อที่บวมบาง ๆ วันละ 1 ครั้ง ย้ายนกไปในกรงกว้าง ๆ เพื่อให้ได้บินออกกำลังมาก ๆ ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียว ใช้น้ำต้มผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตเล็กน้อยตึ้งให้กินจะช่วยป้องกันให้หายได้ใน เวลาไม่นานนัก
โรคท้องผูก(Constipation)โรค ท้องผูกเป็นโรคที่นับว่าสำคัญมากโรคหนึ่งของนกเลี้ยงขังกรงทั่ว ๆ ไป สาเหตุของโรคนี้เกิดจากนกได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารไม่เหมาะสม เช่น ให้อาหารหยาบแห้งเกินไป อาหารไม่มีพวกพืชสดสีเขียว ให้น้ำนกไม่เพียงพอแก่ความต้องการ การขาดการออกกำลังกาย เลี้ยงนกไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป ไม่มีที่กระโดดโลดเต้นโผบินได้ เกิดการอุดตันขึ้นในลำไส้ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารผิดปกติ และนอกจากนี้ยังจะเกิดขึ้นจากโรคบางโรคได้สำหรับ อาการที่สังเกตเห็นได้ก็คือ นกจะถ่ายอุจจาระเป็นไปด้วยความยากลำบาก อุจาระจะออกมาเพียงเล็กน้อยและเป็นก้อนแข็ง ถ้าเป็นอยู่นานวันนกจะเหงาซึม ค่อย ๆ เบื่ออาหารลงเรื่อย ๆ
การป้องกันรักษา ควรทำดังนี้
1. หยดน้ำมันโอลีฟ หรือน้ำมันพาราฟิน หยดใส่ปากนกครั้งละ 1 – 2 หยด จนกว่าอาการจะเข้าขั้นปกติ
2. น้ำต้องจัดตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา และในน้ำก็ให้เติมโซดาซัลเฟตลงไปเล็กน้อย
3. ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียวให้กิน
4. ถ้าจำเป็นต้องสวนทวารให้ ก็ควรใช้น้ำสบู่อุ่น ๆ หรือจะใช้กลีเซอรีนก็ได้ เพื่อช่วยให้ก้อนแข็งของอุจจาระที่อุดปิดอยู่นั้นอ่อนเหลวลื่นเสียก่อน
โรคท้องร่วงโรค นี้โดยทั่วไปมักจะเกิดจากการถ่ายของนกป่า ซึ่งอาจบินผ่านหรือชอบมาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ กรงนกเลี้ยง แล้วถ่ายอุจจาระซึ่งมีเชื้อนั้นทิ้งไว้บนพื้นกรง ในน้ำดื่มเกิดการติดเชื้อ นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายออกเป็นน้ำใส ๆ และมีอาการเซื่องซึม ไม่มีแรง
การป้องกันรักษา ถ้าสงสัยหรือเห็นได้ชัดเจนจากอาการดังกล่าวแล้ว ควรใช้ยาซัลฟาเมชีนโดยหาซื้อและขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้จากร้านสัตว์ แพทย์โดยทั่วไป สำหรับยาชนิดอื่นที่เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น พวกเทอร์รามัยซินก็สามารถใช้ได้ โดยผสมลงในน้ำเพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกดื่มกินรักษาป้องกันได้ผลดีเช่นกัน
โรคเครื่องย่อยอาหารพิการหาก ไม่พบว่ากระเพาะเก็บอาหารมีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการถูกกระทบกระแทก ก็อาจเชื่อได้ว่าอาจเป็นเพราะเครื่องย่อยอาหารพิการ โดยนกจิกกินอาหารได้เพียงครู่เดียวก็หยุด หรือไม่ก็จิกคุ้ยอาหารทิ้งแล้วหยุดเช็ดถูจงอยปาก มีอาการขนพอง กินอาหารได้น้อย
การป้องกันรักษา ให้ลดปริมาณอาหารให้น้อยลง ใช้พาราฟินอย่างเหลวผสมลงในอาหารเล็กน้อยให้กิน สำหรับทราย ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารนั้นควรเพิ่มให้ที่ละน้อย เมื่อนกมีอาการดีแล้ว และต่อไปควรป้องกันระวังไว้อย่าให้ทรายผสมขาดได้ ต้องให้สม่ำเสมอ เพราะนกทุกขนิดต้องกินทรายหรือกรวดเม็ดเล็ก ๆ เพื่อใช้ในการบดย่อยอาหารให้ดีอยู่เสมอ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น