วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557


กระรอก

กระรอก(Squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่ายกายอันน้อยๆของมัน นัยตากลมโต มีหางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ
            วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์ สำหรับการเลี้ยงกระรอกทั้งสองชนิดนั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากครับ

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยๆและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคมมากๆ และมีใบหูใหญ่กว่าชนิดอื่นๆ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นการหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ทั่วไปเล็กน้อย มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ
              กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม
คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufabicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย

วิธีการดูแลกระรอกทั่วไป
            วัยเจริญพันธุ์ของกระรอกจะแตกต่างกันไป แล้วแต่สายพันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่ 4เดือน ถึง 2ปี ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 20-40 วัน จำนวนลูกไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ตัว อายุขัยอาจจะสามารถยาวนานได้ถึง 10 ปี

การเลี้ยงลูกกระรอก ..
              ลูกกระรอกจะเลี้ยงค่อนข้างยากเนื่องจาก ผู้ขายมักจะนำมาจากแม่ในธรรมชาติ มากกว่าที่จะมีการเพาะเลี้ยงได้เอง ดังนั้นจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพพอสมควร เพราะไม่ได้รับน้ำนมจากแม่มาอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงกระรอกที่เล็กเกินไป ลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตาต้องมีการกระตุ้นให้ตาเปิดโดยใช้สำลี ชุบน้ำหมาดเช็ดที่ตามทุกวัน นอกจากนี้ต้องเช็ดที่ก้นด้วยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย

อาหารลูกกระรอก ..
               ลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องกินน้ำนม น้ำนมส่วนใหญ่ที่ให้กินจะเป็นนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หรือนมผงสำหรับเลี้ยงลูกสุนัข หรือกระต่าย หรือหนู นอกจากนี้อาจให้เป็นนมถั่วเหลืองได้ สำหรับนมวัวไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมักจะเป็นสาเหตุให้กระรอกท้องเสียได้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลที่ลูกกระรอกไม่สามารถย่อยได้มาก การชงนม ต้องชงใหม่ทุกครั้ง และไม่ให้นมที่ร้อนเกินไปแก่ลูกกระรอก การชงนมไม่ควรให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะกินยาก และทำให้เกิดการท้องอืด หรือท้องเสียได้ การป้อนนมนิยมใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กค่อยๆหยอดให้กิน อย่าให้เร็วหรือมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจทำให้สำลักได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกกระรอกเป็นปอดบวมได้ ลูกกระรอกควรได้กินนมประมาณ 5 ครั้งต่อหนึ่งวัน ในแต่ละครั้งไม่ควรให้จนอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ท้องอืดได้

ที่อยู่ของลูกกระรอก ..
               ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้

การหย่านม ..

ควรเริ่มให้อาหารอ่อนเมื่อเมื่อลูกกระรอกอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่คนเลี้ยงไม่นิยมหย่านมลูกกระรอกเนื่องจากสามารถให้นมเป็นอาหารลูกกระรอกที่โตได้เช่นกัน จริงๆแล้วควรฝึกให้ลูกกระรอกเริ่มกินผลไม้ ผัก ใบไม้เป็นหลัก และให้นมเป็นอาหารเสริม เพราะจะช่วยให้กระรอกมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่า
การอาบน้ำกระรอก .

.ผู้เลี้ยงบางท่านชอบอาบน้ำให้กระรอก ซึ่งสามารถทำได้ แต่ควรจะเช็ดตัว และทำให้กระรอกตัวแห้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นปอดบวม การอาบน้ำทำได้โดยใช้น้ำเปล่าอาบ หากจำเป็นต้องใช้แชมพูให้ใช้แชมพูของสุนัขที่อ่อนที่สุด โดยนำไปละลายน้ำให้เจือจางอีก 3-4 เท่า ก่อนอาบ

โรคและการเจ็บป่วย ..
             •ท้องเสียลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอกมีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้

ปอดบวม อาการที่พบคือ หายใจลำบาก หอบ มีน้ำมูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้น สาเหตุมักเกิดจาก อากาศเย็นเกินไป การอาบน้ำ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนอาหาร โรคนี้มักจะทำให้กระรอกเสียชีวิตได้ การรักษา มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา รวมทั้งต้องมีการป้อนอาหารเพื่อไม่ให้กระรอกขาดอาหารมากเกินไปด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาวนานเกินไปอาจส่งผลให้กระรอกท้องเสียได้ ถ้าเกิดอาการท้องเสียหลังจากรักษาปอดบวมหายแล้ว ให้ป้อนโยเกิร์ตเป็นอาหารแก่กระรอกเพื่อเป็นการเพิ่มแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาการท้องเสียได้
ทำความรู้จักกับกระรอก
               
               กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ยังเล็กอยู่ เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้

อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน

แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลงและอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้นออกจากอาณาเขตของตนไป หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน 

เขตที่พบกระรอก..

กระรอกเป็นสัตว์ที่พบว่ามีอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นในทวีปออสเตรเลีย, ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้, และบริเวณทะเลทราย  กระรอกสามารถอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงเขตอาร์คติกทุนดรา   และจากชั้นเรือนยอดของต้นไม้ไปจนถึงโพรงใต้ดิน

ถิ่นที่อยู่อาศัย...

โดยส่วนใหญ่แล้วกระรอกจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.8 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1455 มม. จะสามารถพบกระรอกได้มากในป่าเขตอบอุ่นโดยเฉพาะป่าที่มีไม้ผลมาก สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบเห็นกระรอกได้ทุกภูมิภาค แต่จะพบได้มากที่ภาคใต้และพบว่ามีจำนวนน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระรอกบางพันธุ์นั้นจะสามารถพบได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น พญากระรอกเหลือง กระรอกสามสี กระรอกหางม้าใหญ่ กระรอกหน้ากระแต ซึ่งกระรอกเหล่านี้ล้วนเป็นกระรอกพันธุ์หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์

อาหารของกระรอก...

กระรอกในประเทศไทยนั้นก็มีลักษณะการหาอาหารคล้ายกับกระรอกต้นไม้อื่นๆ คือ ดำรงชีวิตด้วยการกินใบไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง ผลไม้เปลือกแข็ง และโคนต้นสน กระรอกเหล่านี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ แต่บางเวลาหากินบนพื้นดิน และแน่นอนว่าอาหารส่วนใหญ่ของกระรอกล้วนเกี่ยวกับต้นไม้ ทำให้กระรอกมักจะเก็บสะสมอาหารอยู่บนกิ่งไม้ กระรอกมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอาหารตามฤดู ในฤดูหนาว กระรอกจะกินดอกที่ยังอ่อนๆ ของต้นแต้ฮวย ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดไป จากนั้นกระรอกจะเปลี่ยนมากินใบไม้ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนกระรอกก็จะเริ่มกินผลไม้ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง กระรอกจะกินแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมดที่กำลังกักตุนอาหารก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือน

 พฤติกรรมการกินอาหารของกระรอก...

- อาหารหลัก : กระรอกเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมากจะกินผลไม้และธัญพืช

- อาหารที่เป็นสัตว์ : แมลง บางครั้งกระรอกจะกินแมลงเมื่อต้องการแร่ธาตุบางชนิด

- อาหารที่เป็นพืช : ได้แก่ ใบไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้

- พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการสะสมหรือซ่อนอาหารไว้กินในฤดูหนาว

การสืบพันธุ์...

กระรอกมีการสืบพันธุ์แบบ promiscuous หรือ polygynandrous คือตัวผู้หรือตัวเมียหลายๆ ตัวผสมกับเพศตรงข้าม 1 ตัว ในวันที่ตัวผู้เป็นสัด ตัวผู้หลายตัวจะมารวมกันล้อมรอบตัวเมียและเริ่มส่งเสียงร้อง การส่งเสียงร้องนี้เป็นการเริ่มต้นแข่งขันกันในหมู่ตัวผู้ ซึ่งจะมีตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะและได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวนั้น ตัวผู้ตัวที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมียในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ของตัวเมียนั้นได้รับการผสมจากตนเอง แต่ถ้าจำนวนตัวผู้ที่เข้าแย่งชิงนั้นมีจำนวนมาก ตัวผู้ตัวนั้นก็อาจไปจากตัวเมีย และตัวเมียก็อาจจะเริ่มผสมกับตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะตัวผู้ตัวอื่นๆ ที่เข้ามาในขณะนั้น

หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ในตอนแรกตัวเมียจะออกสำรวจหาบริเวณและสร้างรังในบริเวณที่เหมาะสมและค่อนข้างปลอดภัย พฤติกรรมนี้จะพบมากที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ตรงกับฤดูผสมพันธุ์ของกระรอก ภายในรังของกระรอกนั้นพบว่า แม่กระรอกสามารถให้กำเนิดลูกได้ครั้งละหลายตัว

อายุขัยของกระรอก...

ปี (ยังไม่เคยมีการรายงานเป็นตัวเลขที่แน่นอนแต่สำหรับกระรอกที่ถูกคนเลี้ยงดูนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 17 ปี และบางพันธุ์อาจมีอายุยืนถึง 21 เลี้ยงขังในกรง) เช่น กระรอกสามสี

 ศัตรูตามธรรมชาติ

ในธรรมชาตินั้น กระรอกมีศัตรูคือสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น อีเห็น ชะมด พังพอน แมวป่า รวมทั้งเหยี่ยว นอกจากนี้ กระรอกอาจถูกคนจับมาขายหรือฆ่าทิ้งเนื่องจากทำลายผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะกระรอกที่ไปอาศัยในสวนปาล์ม

ช่วงอายุของกระรอก

0-2 สัปดาห์ ช่วงนี้ลูกกระรอกจะตัวแดงๆ จนถึงเริ่มไม่แดง แล้วก็จะยังไม่มีลายให้เห็นนัก

                2-3 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นสีของผิวหนังซึ่งจะเป็นบริเวณที่ ขนจะขึ้นเป็นลาย

                3-4 สัปดาห์  เริ่มมีขึ้นเป็นสีๆขึ้นบริเวณที่เป็นลาย ของผิวหนังในตอนแรก

                5-6 สัปดาห์  ขนจะเริ่มปุกปุย ทั้งลำตัวและ ที่หาง และตาเริ่มจะเปิด เมื่ออายุ

6-7สัปดาห์ (สำหรับกระรอกพันธุ์ตัวใหญ่ก็จะโตช้ากว่ากระรอกพันธุ์ตัวเล็กๆ)

**ในที่นี้เป็นเกลย์สแควรอล หรือกระรอกสีเทา ของต่างประเทศ

                10 สัปดาห์ขึ้นไป กระรอกสามารถกินอยากอื่นได้บ้างแล้วนอกจากนม แต่ก็ยังต้องกินนมเสริม

                5 เดือน  กระรอกโตเต็มวัย

อาหารโปรดของกระรอก

ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย ส้ม มังคุด กระรอกกินผลไม้ได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวเป็นผลไม้ที่กระรอกชอบมาก กระรอกสามารถแทะมะพร้าวทั้งลูก กินเนื้อมะพร้าว และสร้างเป็นรังนอนได้ในเวลาอันสั้นเนื่องจากฟันที่แข็งแรง และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทะ กระรอกบางตัวจะชอบผลไม้รสเปรี้ยว เช่นมะนาว มะขามเปียกผลไม้เหล่านี้เป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีของกระรอก กระรอกบางตัวกินมะนาวได้เป้นลูกๆ กินเยอะมากไปก็ไม่ดีนะคะผลไม้ตระกูลแตง ไม่ว่าจะเป็น แตงโม แตงกวา แตงไทย หรือแตงล้านล้วนเป็นอันตรายต่อลูกกระรอกทั้งสิ้น เนื่องจากน้ำที่มีมาก และยางหรือยาฆ่าแมลงที่ตกค้างลูกกระรอกอาจท้องเสียทันทีที่ได้รับอาหารประเภทนี้ ในกรณีกระรอกโต บางตัวกินได้บางตัวกินแล้วท้องเสีย

                ธัญพืช ถั่วต่างๆ เช่นถั่วลิสงแห้ง เมล็ดถั่วลันเตาแก้ง เมล็ดทางตะวัน ฯลฯ ควรระวังสารพิษอะฟลาท็อกซิน ที่เกิดจากเชื้อราในถั่วแห้งต่างๆ ควรตรวจสอบดูว่ามีความใหม่ และไม่เกิดรา สังเกตจากจุดดำๆที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีเกิดเชื้อราธัญพืช ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวไร กระรอกบางตัวจะชอบแทะ บางตัวอาจไม่ชอบ ธัญพืชส่วนใหญ่ให้พลังงานสูง มีกลิ่นหอม ระวังเรื่องชื้น และการเกิดรา เช่นเดียวกับเมล็ดถั่วแห้ง

แมลงและเนื้อสัตว์
               กระรอกบางตัวจะกินแมลง เช่น แมลงเม่า ซึ่งกระรอกอาจจับกินเอง เพื่อเสริมวิตามิน และธาตุอาหารบางชนิดซึ่งไม่มีในผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ

นม และอาหารเสริม
           ลูกกระรอกมักต้องการนมเป็นอาหารหลัก โดยปกติลูกกระรอกจะกินนมแม่ ถึงอายุประมาณ 2 เดือน โดยจะเริ่มกินผลไม้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน แม้ว่ากระรอกกินผลไม้ได้บ้างแล้วเราก็ควรให้นมด้วย

เพราะลูกกระรอกต้องการแคลเซียมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต

นมสำหรับูกกระรอกเล็ก ได้แก่
           1. นมวัว
           2.นมแพะ
           3. นมข้นหวาน
           4. ซิลิแล็ก
           5. นมถั่วเหลือง

อาหารเสริม
            - Heinz มีทั้งสูตรผลไม้เข้มข้น และสูตรที่เป็นข้าวโอ๊ตต่างๆ โดยอาหารเสริมเหล่านี้ควรให้ลูกกระรอกที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป

            - กล้วยน้ำว้าบด + ผลไม้ ควรเสริมกล้วยบด สลับกับนมให้ลูกกระรอกตั้งแต่อายุ 1.5 เดือนขึ้นไปเพื่อฝึกให้ลูกกระรอกกินผลไม้ และชินกับรสชาตของผลไม้

ข้อควรระวัง
             1. ระวังสารเคมีตกค้างในผลไม้ และสารพิษจากเมล็ดถั่วแห้ง
             2. ไม่ควรเปลี่ยนนมกระทันหัน
               3. กระรอกควรได้รับอาหารที่หลากหลาย มากกว่ากินชนิดเดียวนานๆ
              4. การเปลี่ยนแปลงอาหารทุกครั้ง ควรสังเกตุกระรอกว่ากระรอกมีอาการผิดปกติหรือไม่



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น